วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยี

ทางสุขภาพ

              
                  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางสุขภาพจะมีคุณค่าในการช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็ตาม แต่หากมนุษย์ไม่รู้จักตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพให้เหมาะสมและถูกต้อง อันตรายหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพก็อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ จึงควรมีหลัก ดังนี้
              ๑.ศึกษาข้อมูลของเทคโนโลยีทางสุขภาพต่างๆ
              ๒.ปฏิบัติตามขั้นตอนในการใช้อย่างถูกต้อง
              ๓.คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการนำเทคโนโลยีทางสุขภาพไปใช้
              ๔.พิจารณาถึงคุณภาพของการผลิตและการนำไปใช้งาน
              ๕.คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ
              ๖.พิจารณาถึงราคา ค่าใช้จ่าย
              ๗.เทคโนโลยีนั้น ควรมีความสะดวกและวิธีการใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป
              ๘.ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางสุขภาพด้วยความระมัดระวัง
              ๙.ควรคำนึงถึงคุณธรรมและความถูกต้องเหมาะสมในการใช้

ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีผลต่อสุขภาพ

         
                  วิวัฒนาการทางการแพทย์ของไทยนั้น มีการพัฒนามาตามลำดับ นับจากการใช้การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่สมัยอดีตในสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและเมื่อมีการเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตก ก็ได้มีการนำการแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย
              ๕.๑ระบบการแพทย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในประเทศไทยปัจจุบันนั้น เมื่อกล่าวถึงระบบการแพทย์ จะมีการจำแนกออกได้เป็น ๓ ประเภทคือ การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์กระแสหลัก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์ทางเลือก
              ๕.๒หลักในการพิจารณาเลือกใช้บริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม
จากการจำแนกประเภทของบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่พบในประเทศไทยออกเป็น
๓ ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั้น พบว่ามีผลกระทบต่อรูปแบบของการเลือกใช้บริการและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม  การแพทย์ควรยึดหลักสำคัญ ๔ ประการดังนี้
              ๑.หลักของความน่าเชื่อถือ
              ๒.หลักของความปลอดภัย
              ๓.หลักของการมีประสิทธิผล
              ๔.หลักของความคุ้มค่า





เทคโนโลยีสุขภาพ



เทคโนโลยีทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน


            เทคโนโลยีทางสุขภาพ  หมายถึง การรวบรวมความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพใน การดูแล การสร้างเสริมสุขภาพรวมถึงการป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลหรือชุมชนมีสุขภาพที่ดีและมีความปลอดภัยในชีวิต และในปัจจุบันเทคโนโลยีก็เข้ามามีความสำคัญต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก

คุณค่าของเทคโนโลยีทางสุขภาพ

เทคโนโลยีทางสุขภาพมีคุณค่าต่อวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในภาพรวม ดังนี้
                   ๑.ด้านคุณภาพชีวิต  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนั้น ช่วยให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย
                   ๒.ด้านประสิทธิภาพของงาน  การนำเทคโนโลยีทางสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
                   ๓.ด้านประสิทธิผลของผลผลิต  เทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่วยให้การศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยของนักวิชาการทางสุขภาพในหลากหลายสาขาวิชา สามารถสร้างผลงานหรือผลผลิตที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว
                   ๔.ด้านความประหยัด  การใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ ช่วยประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการทำงาน รวมถึงช่วยให้บุคคลสามารถใช้เวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว


ประเภทของเทคโนโลยีทางสุขภาพ 

              ๑.เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ  เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยสามารถแบ่งออกได้ ๕ ประเภท ดังนี้
                   ๑.๑เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
                   ๑.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร
                   ๑.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา
                   ๑.๔เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องมือแพทย์
                   ๑.๕เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือสุขภาพ
              ๒.เทคโนโลยีเกี่ยวกับบริการสุขภาพ เป็นเทคโนโลยีเพื่อการให้บริการสุขภาพ
ซึ่งแบ่งออกได้ ๓ ประเภท ดังนี้
                   ๒.๑ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจและรักษาโรค
                   ๒.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับการป้องกันโรค
                   ๒.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
              ๓.เทคโนโลยีเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๑เทคโนโลยีการพิมพ์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๒เทคโนโลยีคมนาคมเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๓เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ